ชื่อไทย : โกฐพุงปลา
ชื่ออังกฤษ :
ชื่อจีน :
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. var chebula
เบอร์/ลักษณะ :
รายละเอียด : โกฐพุงปลา มีลักษณะคล้ายกระเพาะปลาขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายถุงแบน กลวง ปากแคบคือมีคอคอดคล้ายมีขั้ว ก้นป่อง แบน ผิวสีน้ำตาลปนนวล บางตอนเรียบ บางตอนเป็นตะปุ่มตะป่ำ ส่วนที่เสมือนปลิ้นออกอาจมีสีแดงเรื่อ ผิวนอกย่น สีน้ำตาล ผิวในขรุขระสีดำ ความกว้างราว 1-3 ซม. ขนาดความยาว 1.5-3 ซม. ความหนา 0.4-1.5 ซม. ปูด (gall) เป็นก้อนแข็งที่เกิดขึ้นจากส่วนของพืช เช่น ใบ กิ่ง ที่ถูกแมลงเจาะและหยอดไข่ลงไป แล้วสร้างสารขึ้นมาป้องกัน โกฐพุงปลามีรสฝาด ขมจัด เป็นยาฝาดสมานอย่างแรง
สรรพคุณ : เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โกฐพุงปลาจัดอยู่ใน โกฐทั้งเก้า (เนาวโกฐ) สรรพคุณโดยรวม ของยาที่ใช้ในพิกัดโกฐ คือ แก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง ขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก
วิธีการใช้งาน : ใช้โกฐพุงปลาแห้งประมาณ 6-12 กรัมต่อวัน ต้มกับน้ำในภาชนะที่สะอาด ไม่ควรต้มทิ้งไว้นาน ดื่มน้ำที่ได้จากการต้ม หากใช้โกฐพุงปลาสด ควรใช้ปริมาณเป็นสองเท่าของโกฐพุงปลาแห้ง
ขนาดบรรจุ : 1 กิโลกรัม